การทาสีพื้นถนนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบริเวณทางโค้ง ทางลาด และบริเวณอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูง ซึ่งหนึ่งในประเภทสีที่นิยมนำมาทาพื้นถนน คือ สีโคลด์พลาสติก ในบทความนี้ Anukul Traffic จะพามาทำความรู้จักกับสีโคลด์พลาสติกและประโยชน์ด้านการใช้งาน
สีโคลด์พลาสติกคืออะไร
สีโคลด์พลาสติก หรือ Cold Plastic Paint คือ สีทาพื้นถนนกันลื่นชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำสัญลักษณ์จราจรบนพื้นถนน โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นอะคริลิกเรซินประเภท MMA Resin และประเภท BPO ซึ่งโดดเด่นด้วยคุณสมบัติแห้งเร็ว ใช้เวลาเซ็ตตัวหลังทาประมาณ 30-40 นาที เท่านั้น นอกจากนี้ ยังรองรับการทาบนพื้นคอนกรีตและยางมะตอยด้วย
โดยปกติแล้ว สีทาพื้นถนนทั่วไปจะไม่สามารถทาบนพื้นยางมะตอยได้ เนื่องจากยางมะตอยมีสารบิทูมิน (Bitumen) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ทำให้เม็ดสีในสีทาพื้นถนนทั่วไปไม่สามารถเกาะผิวของพื้นยางมะตอยได้
ไม่เพียงเท่านั้น สีโคลด์พลาสติกยังสามารถรองรับแรงกดทับได้เป็นอย่างดี โดย สามารถทนทานทานต่อการใช้งานของรถยนต์มากกว่า 10,000 เที่ยวต่อวัน ซึ่งสีจะหลุดลอกออกไปเพียง 0.2-1 มิลลิเมตรเท่านั้น
ประเภทของสีโคลด์พลาสติก
โดยสีโคลด์พลาสติกสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ตามลักษณะของเม็ดสี ดังนี้
- เม็ดทรายหยาบมาก #800 สีทาพื้นถนน
สีโคลด์พลาสติกประเภทนี้มีเม็ดสีหยาบที่สุด เหมาะสำหรับทาพื้นถนนหลวง หรือทางหลวงชนบท โดยให้ความหนาของชั้นสีอยู่ที่ 3 มิลลิเมตร
- เม็ดทรายหยาบปานกลาง #400
เหมาะสำหรับทาพื้นทางเดินในที่ร่ม (Walk way) ทางเดินภายในโรงงาน ทางลาด หรือทางปั่นรถจักรยาน เป็นต้น โดยให้ความหนาของชั้นสีประมาณ 1-3 มิลลิเมตร
- เม็ดทรายละเอียด # 200
เหมาะสำหรับการทาพื้นถนน เพื่อทำเครื่องหมายจราจรและเส้นจราจรต่างๆ โดยสามารถทำเป็นสีสะท้อนแสงได้
ตัวอย่างการใช้งานสีโคลด์พลาสติก
ด้วยคุณสมบัติกันลื่น ทนทานต่อแรงกดทับ อีกทั้งยังแห้งไว ทำให้สีโคลด์พลาสติกได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยตัวอย่างการใช้งานสีโคลด์พลาสติกมีดังนี้
- ทางหลวง
ถนนสาธารณะสายหลักที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอ จังหวัด และสถานที่สำคัญต่างๆ
- ทางด่วน
ถนนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการจราจรที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยมีการควบคุมการเข้าออกและเก็บค่าใช้จ่าย
- ทางหลวงชนบท
ถนนสาธารณะที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชน ตำบล อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญในชนบท
- ทางโค้ง
ทางโค้งเป็นส่วนหนึ่งของถนนที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง เนื่องจากมีวิสัยทัศน์ที่จำกัด
- ทางขึ้น-ลงเขา
ทางขึ้น-ลงเขาเป็นเส้นทางลาดชันที่มักเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่าย
- ทางม้าลาย
ทางม้าลายเป็นจุดที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการข้ามถนนของคนเดินเท้าให้สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ทำไมต้องเลือกสีโคลด์พลาสติก
หนึ่งในเหตุผลที่หลายหน่วยงานเลือกใช้สีโคลด์พลาสติก เพราะราคาที่เป็นมิตร โดยสีอีกประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกับสีโคลด์พลาสติก คือ สีเทอร์โมพลาสติก แต่สีเทอร์โมพลาสติกมีราคาสูงกว่าสีโคลด์พลาสติก ส่งผลให้สีโคลด์พลาสติกได้รับความนิยมมากกว่า ทั้งนี้ ในการใช้งานที่ต้องการความคงทนสูง สีเทอร์โมพลาสติกยังถือว่าตอบโจทย์ได้ดีกว่าสีโคลด์พลาสติก
ประโยชน์ของการทาสีพื้นถนน
การทาสีพื้นถนนมีประโยชน์มากกว่าความสวยงาม ยกตัวอย่าง
- เพื่อความปลอดภัย
การทาสีพื้นถนนช่วยเพิ่มการมองเห็นเส้นแบ่งเลน ทางม้าลาย และเครื่องหมายจราจรต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน หรือช่วงที่สภาพอากาศส่งผลต่อวิสัยทัศน์การมองเห็นของผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน เช่น ฝนตก หมอกหนา ฝุ่นควัน และอื่นๆ เพื่อช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
- เพื่อความสะดวก
สีทาถนนช่วยเพิ่มความสะดวกและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการจราจรได้ เช่น การแบ่งช่องจราจร กำหนดจุดจอดรถ กำหนดจุดกลับรถ และอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับถนนและชุมชนด้วย
- เพื่อความคงทน
สีทาถนนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาสภาพพื้นถนน โดยสีทาพื้นถนนมีส่วนช่วยป้องกันผิวถนนจากรอยขีดข่วน การสึกหรอ และสภาพอากาศ ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการซ่อมบำรุงถนน
- เพื่อสิ่งแวดล้อม
สีทาพื้นถนนบางชนิดมีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น สีดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และสีดูดซับเสียง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ควรเลือกบริษัทรับตีเส้นถนนที่น่าเชื่อถือ เลือกใช้สีทาพื้นถนนที่ได้มาตรฐาน และมีความเชี่ยวชาญในการทาสี เพื่อให้สีคงอยู่ได้นาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างแท้จริง
หากสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ หรือขอใบเสนอราคา ได้ที่
Line ID: @anukultraffic (มี @ ข้างหน้า)
โทร: 080-222-6662, 091-886-9547, 02-115-4687