Anukul Traffic

สีทาถนน มีกี่ประเภทให้เลือกใช้งาน

ในงานตีเส้นจราจรหรือการทำสัญลักษณ์จราจร นอกจากจะต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะทางและความชำนาญแล้ว ยังต้องใช้ “สีทาถนน” ที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างจากสีธรรมดาทั่วไป สังเกตได้จากความทนทานต่อการเสียดสีของล้อรถ ทนน้ำทนฝน ทั้งนี้สีทาพื้นถนนก็มีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ตามโจทย์ที่แตกต่างกันไป การเลือกสีทาถนนให้ถูกต้องถึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

สีทาถนน มีกี่ประเภท? แต่ละชนิดมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไร? ในบทความนี้ Anukul Traffic จะมาอธิบายให้รู้กันแบบเจาะลึก เลือกสีทาเส้นจราจรได้ตรงตามความต้องการและการใช้งาน

สีทาถนน มีกี่ประเภท ?

หลายคนคงทราบกันดีว่า สีทาถนน คือ สีประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในงานจราจร ทั้งการตีเส้นถนน สัญลักษณ์ รวมถึงการใช้งานรูปแบบอื่นๆ โดยหลักแล้ว สามารถจำแนกสีทาถนนออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.สีทาถนนชนิดไม่สะท้อนแสง

สีทาถนนชนิดไม่สะท้อนแสง คือ สีที่ผลิตจากวัสดุอย่างอะคริลิก (Acrylic), เรซิ่น (Resin) และคลอริเนต (Chlorinated) จึงส่งผลให้เนื้อสีที่ทาลงบนพื้นผิวถนนนั้นมีชั้นฟิล์มหนา สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมทั้งฝนตกและแดดจัดได้ นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติในการยึดติดพื้นผิวดีเยี่ยมหลังจากสีเซ็ตตัว ทำให้ทนทานต่อการเสียดทานกับล้อรถยนต์ เราจึงสามารถขับรถผ่านเส้นถนนได้โดยที่สีไม่ติดล้อนั่นเอง

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้สีทาถนนชนิดไม่สะท้อนแสงถูกใช้งานสำหรับตีเส้นถนน ใช้ได้กับทั้งพื้นผิวคอนกรีตและพื้นลาดยางมะตอย เป็นประเภทสีทาถนนที่พบเห็นได้ทั่วไป

2.สีทาถนนชนิดสะท้อนแสง

สีทาถนนชนิดสะท้อนแสง คือ สีที่มีพื้นผิวที่สามารถสะท้อนแสงของไฟรถยนต์ที่สัญจรไปมาบนท้องถนนได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของลูกแก้วสะท้อนแสง หรือ Glass Bead ที่มีลักษณะเป็นเม็ดกลม โดยเป็นไปตามมาตรฐานมอก.543-2550 ช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็นได้ชัดเจนเวลากลางคืน มักใช้ในการตีเส้น ทำสัญลักษณ์ และทาสีขอบฟุตบาท

ทั้งนี้ สีทาถนนสองประเภทที่กล่าวไปข้างต้นสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบย่อยได้หลากหลาย รวมถึงมีสีเรืองแสงที่ใช้ในการตีเส้นสีเรืองแสงอีกด้วย ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตสี เนื่องจากวัสดุแต่ละแบบจะให้คุณสมบัติที่แตกต่างกันไปนั่นเอง

รูปแบบต่างๆ ของสีทาพื้นถนน มีอะไรบ้าง

รูปแบบของสีทาพื้นถนน

ปัจจุบันมีผู้ผลิตสีทาถนนหลายรายที่ออกแบบสูตรของตนเองออกมา ทำให้มีสีทาเส้นจราจรหลายรูปแบบหรืออาจเป็นชนิดเดียวกัน แต่มีส่วนผสมต่างกัน โดยมีประเภทสีทาพื้นถนนที่สามารถพบได้ ดังนี้

1.สีน้ำมันคลอริเนตรับเบอร์ (Chlorinated Rubber)

สีทนถนนของคลอริเนตรับเบอร์ มีส่วนผสมของเรซิ่น อีลาสโตเมอร์ (ยาง) และคลอรีนประมาณ 65% ซึ่งส่วนผสมจะสร้างชั้นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะ ทนทานต่อการขีดข่วน การกัดกร่อนจากสารเคมีและน้ำเค็ม อีกทั้งไม่ลามไฟ จึงเป็นหนึ่งในประเภทสีทาถนนไม่สะท้อนแสงที่ได้รับความนิยม

2.สีทาถนน Thermoplastic

สีที่มีส่วนผสมของเทอร์โมพลาสติก ที่สามารถแข็งตัวและอ่อนตัวลงได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ จึงจำเป็นต้องต้มสีที่อุณหภูมิ 60-180 องศาเซลเซียสเพื่อให้สีอ่อนตัวลง และสีจะแข็งตัวเมื่อเย็นตัวลงบนพื้นผิวถนน สีประเภทนี้จึงมีความแข็งตัวสูง มีลักษณะนูนขึ้นมาจากพื้นถนนเล็กน้อย ที่สำคัญคือเป็นสีทาถนนที่ติดแน่น ไม่ซีดจาง เหมาะกับถนนถนนลาดยางมะตอย ถนนคอนกรีต และเนินหลังเต่า นอกจากนี้ สีทาถนนที่เป็นสีเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ยังมีส่วนผสมของลูกแก้วสะท้อนแสง เพื่อเพิ่มการมองเห็นในเวลากลางคืนอีกด้วย

3.สีทาพื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy)

สีชนิดนี้มีส่วนประกอบของเรซิ่นประเภท Epoxy ซึ่งเป็นสารจำพวกเทอร์โมพลาสติก เมื่อแข็งตัว สีอีพ็อกซี่จะมีคุณสมบัติความแข็งแรง ทนต่อสารเคมี กรด ด่าง และสารซักฟอกต่างๆ ได้ดี ช่วยปิดรอยต่อบนพื้น แต่อาจไม่ทนทานต่อแสงยูวี (UV) จึงเหมาะกับใช้ทาพื้นในที่ร่ม เช่น โรงจอดรถ หรืออาคารปิด มากกว่า

4.สีทาถนน Cold Plastic Color

เป็นสีชนิดพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการลื่น อีกทั้งมีข้อดี ได้แก่ ทนแรงกระแทก แรงขูดขีด ทนทานต่อสารเคมีและแสงยูวีได้ดีเยี่ยม ดังนั้นสีทาถนน Cold Plastic Color จึงมักถูกใช้เคลือบพื้นถนนทางด่วน ทางโค้งกันลื่น ถนนลื่นที่เป็นจุดอันตราย หรือบริเวณพื้นลาดชัน เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติบนท้องถนน

5.สี Water-based Paint

สีทาถนนสูตรน้ำ สามารถทาลงบนพื้นถนนได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ความร้อนในการต้มสี แห้งเร็วแม้ในสภาวะที่ความชื้นสูง จึงสามารถทำงานเสร็จไว รวมถึงมีความทนทานสูงสามารถยึดติดเม็ดแก้วสะท้อนแสงกับเนื้อสีได้ดีกว่า จึงมองเห็นชัดเจนในเวลากลางคืน นอกจากนี้สีสูตรน้ำยังมีอัตราการระเหยต่ำ (Low VOC) ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสีทาถนน เห็นได้ว่าแม้จะมีอยู่ 2 ประเภทหลักคือ ชนิดไม่สะท้อนแสง และชนิดสะท้อนแสง แต่ก็มีรูปแบบย่อยหลากหลายที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานที่ต่างกัน ซึ่งนอกจากจะเลือกสีที่เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งานแล้ว ควรเลือกบริษัทรับตีเส้นจราจรที่น่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์อีกด้วย เพื่อให้ผลงานออกมาได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อการใช้งาน

Anukul Traffic บริษัทรับตีเส้นจราจร ประสบการณ์กว่า 10 ปี

อนุกูล ทราฟฟิค คือ ผู้รับเหมาสัญลักษณ์บนถนนที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี เรามีทีมช่างที่ชำนาญในการตีเส้นจราจร การเคลือบผิวสีอีพ็อกซี่ และการลาดยางมะตอย โดยเรามุ่งเน้นถึงคุณภาพของงานตีเส้นให้ได้คุณภาพดี ตรงตามแบบและแผนงานที่ตกลงกับลูกค้า ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ ดำเนินโครงการต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด

Anukul Traffic ให้บริการที่แตกต่าง

  • ซื่อสัตย์ มุ่งมั่น ตั้งใจบริการ ลูกค้าจะได้รับความสบายใจและมั่นใจในคุณภาพงาน
  • มีทีมช่างตีเส้นเป็นของบริษัทเอง ไม่ได้จ้างช่างช่วง จึงง่ายต่อการประสานงาน ทำงานรวดเร็ว มีคุณภาพ
  • ราคาคุ้มค่า และเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
  • ยินดีรับงานทั่วไทย ไม่ว่างานเล็กหรืองานใหญ่

เรามีประสบการณ์ในการให้บริการกับลูกค้าทั้งภาครัฐบาลและเอกชนครอบคลุมงานลูกค้าทั่วไทย นอกจากนี้ เรายังส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม ให้บริการรับเหมาตีเส้นจราจรให้แก่บ้านพักคนชรา พุทธศาสนสถาน ตลอดจนการร่วมโครงการปันน้ำใจต่าง ๆ อีกด้วย

บริการต่างๆ จาก Anukul Traffic

  1. บริการตีเส้นจราจร บริการหลักทั้งการตีเส้นแบ่งช่องจราจร การทำเครื่องหมายต่าง ๆ โดยมีการใช้สี
    เทอร์โมพลาสติกที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.542-2549
  2. บริการเคลือบผิวสีอีพ็อกซี่ การเคลือบพื้นและผนังด้วยสีอีพ็อกซี่ ทำความสะอาดง่าย ป้องกันสารเคมี ปกปิดรอยแตกเล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่ม
  3. บริการลาดยางมะตอย สำหรับการซ่อมถนน ทำลานจอดรถ ทำคันชะลอรถ ลดฝุ่นละอองจากถนน

หากสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ หรือขอใบเสนอราคา ได้ที่
Line ID: @anukultraffic (มี @ ข้างหน้า)
โทร: 080-222-6662, 091-886-9547, 02-115-4687
Email: anukul.traffic@gmail.com, pornpimon.nyng@gmail.com

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า