ในกิจวัตรประจำวันของผู้ใช้รถใช้ถนนมักจะได้เห็นเส้นรจราจรกันจนชินตา แน่นอนว่ากฎหมายและสัญลักษณ์ทางการจราจรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้รถ เส้นจราจรบนพื้นต่างๆ จำเป็นต้องรู้และทำความเข้าใจ เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อตัวเองและผู้อื่นเดินทาง
ในบทความนี้ Anukul Traffic จะมาบอกให้ทุกคนได้ทราบถึงความหมายของเส้นทึบ เส้นประบนถนน คืออะไร และมีความหมายอย่างไร
เส้นจราจรสีขาวและสีเหลืองต่างกันหรือไม่?
เส้นจราจรที่เห็นเป็นเส้นทึบ เส้นประบนท้องถนนนั้นหลักๆ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 สี คือ สีเหลืองและสีขาว โดยทั้งสองสีมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
- เส้นสีขาว เป็นเส้นแบ่งช่องทางจราจร สีขาว จะใช้สำหรับถนนที่มีการจราจรไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่เส้นแบ่งช่องทางจราจร
- เส้นสีเหลือง จะใช้สำหรับถนนที่มีการจราจรในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งผู้ขับจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
เมื่อรู้ความหมายของสีขาวและสีเหลืองบนถนนแล้ว ต่อมาคือการใช้เส้นทึบ เส้นประสร้างสัญลักษณ์เมื่อพบเห็นบนถนนแล้วจะมีความหมายแบบใดไปดูกัน
เส้นประสีขาว
เส้นแบ่งช่องทางจราจรปกติ โดยทั้งสองช่องทางให้เดินรถไปในทิศทางเดียวกัน และผู้ขับขี่จะต้องขับรถอยู่ในช่องจราจรเท่านั้น ห้ามขับคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด แต่สามารถเปลี่ยนเลนได้เมื่อปลอดภัย
เส้นประสีเหลือง
เส้นแบ่งช่องทางจราจรปกติ โดยทั้งสองช่องทางเดินรถในทิศทางสวนกัน โดยผู้ขับขี่สามารถแซงได้เมื่อเห็นว่าข้างหน้าปลอดภัย ไม่มีรถขับสวนทางมา และรีบกลับเข้ามายังช่องทางเดินรถที่ถูกต้องทันทีเมื่อแซงพ้น
เส้นทึบสีขาว
เส้นแบ่งช่องทางเดินรถ โดยผู้ขับขี่ห้ามเปลี่ยนช่องทางเดินรถในเส้นทึบเด็ดขาดและเส้นทึบห้ามแซง โดยมากแล้วจะพบเส้นทึบขาวได้ก่อนถึงแยกจราจร หรือบริเวณไหล่ทาง เป็นต้น
เส้นทึบสีเหลือง
เส้นแบ่งช่องทางเดินรถที่มีทิศทางตรงกันข้าม โดยให้ผู้ขับขี่ห้ามขึ้นแซงรถคันหน้าเด็ดขาด เนื่องจากอาจเป็นจุดอับสายตา ที่ทำให้การขับแซงไม่ปลอดภัย
เส้นทึบคู่สีขาว
ห้ามผู้ขับขี่เปลี่ยนเลนหรือขึ้นแซง ห้ามขับคร่อมเส้นหรือทับเส้น เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถเมื่อปลอดภัย
เส้นทึบคู่สีเหลือง
คือ เส้นทึบกลางถนน เป็นเส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง หรือเรียกอีกอย่างว่าเส้นทึบห้ามแซง ซึ่งห้ามผู้ขับขี่เปลี่ยนเลนและไม่อนุญาตให้ขับคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
เส้นทึบคู่กับเส้นประ
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามเปลี่ยนเลนหรือแซงเฉพาะด้าน โดยรถที่ฝั่งเส้นทึบห้ามเปลี่ยนเลนหรือแซงโดยเด็ดขาด ส่วนรถที่อยู่ฝั่งเส้นประสามารถเปลี่ยนเลนหรือแซงได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัย เส้นทึบคู่กับเส้นประมีทั้งแบบสีเหลืองสำหรับถนนสวนเลน และสีขาวสำหรับถนนเดินรถไปทางเดียวกัน
สรุปอย่างง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนจำได้คือ เส้นทึบ คือ ห้ามแซง ห้ามคร่อม และเส้นประ สามารถแซงได้ คร่อมได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัย เพียงเท่านี้ก็สามารถขับขี่รถได้ปลอดภัยมากขึ้นแล้ว
เส้นจราจรเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดกฎจราจรบนท้องถนนเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจ้างบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในการตีเส้นจราจร อย่าง Anukul Traffic
Anukul Traffic บริษัทรับตีเส้นจราจร ประสบการณ์กว่า 10 ปี
อนุกูล ทราฟฟิค คือ ผู้รับเหมาตีเส้นสัญลักษณ์บนถนนที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี เรามีทีมช่างที่ชำนาญในการตีเส้นจราจร ตีเส้นที่จอดรถ ตีเส้นทางม้าลาย การเคลือบผิวสีอีพ็อกซี่ และการลาดยางมะตอย โดยเรามุ่งเน้นถึงคุณภาพของงานตีเส้นให้ได้คุณภาพดี ตรงตามแบบและแผนงานที่ตกลงกับลูกค้า ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ ดำเนินโครงการต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด ใครกำลังมองหาบริษัทรับตีเส้นจราจร Anukul Traffic ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์
Anukul Traffic ให้บริการที่แตกต่าง
- ซื่อสัตย์ มุ่งมั่น ตั้งใจบริการ ลูกค้าจะได้รับความสบายใจและมั่นใจในคุณภาพงาน
- มีทีมช่างตีเส้นเป็นของบริษัทเอง ไม่ได้จ้างช่างช่วง จึงง่ายต่อการประสานงาน ทำงานรวดเร็ว มีคุณภาพ
- ราคาคุ้มค่า และเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
- ยินดีรับงานทั่วไทย ไม่ว่างานเล็กหรืองานใหญ่
เรามีประสบการณ์ในการให้บริการกับลูกค้าทั้งภาครัฐบาลและเอกชนครอบคลุมงานลูกค้าทั่วไทย นอกจากนี้ เรายังส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม ให้บริการรับเหมาตีเส้นจราจรให้แก่บ้านพักคนชรา พุทธศาสนสถาน ตลอดจนการร่วมโครงการปันน้ำใจต่าง ๆ อีกด้วย
บริการต่างๆ จาก Anukul Traffic
- บริการตีเส้นจราจร บริการหลักทั้งการตีเส้นแบ่งช่องจราจร การทำเครื่องหมายต่าง ๆ โดยมีการใช้สีเทอร์โมพลาสติกที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.542-2549
- บริการเคลือบผิวสีอีพ็อกซี่ การเคลือบพื้นและผนังด้วยสีอีพ็อกซี่ ทำความสะอาดง่าย ป้องกันสารเคมี ปกปิดรอยแตกเล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่ม
- บริการลาดยางมะตอย สำหรับการซ่อมถนน ทำลานจอดรถ ทำคันชะลอรถ ลดฝุ่นละอองจากถนน
หากสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ หรือขอใบเสนอราคา ได้ที่
Line ID: @anukultraffic (มี @ ข้างหน้า)
โทร: 080-222-6662, 091-886-9547, 02-115-4687