Anukul Traffic

เส้นจราจร แต่ละแบบมีความหมายอย่างไร

เราทุกคนต้องใช้รถใช้ถนนกันเป็นประจำทุกวันในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการไปทำงาน หรือออกไปเที่ยว แน่นอนว่าบนถนนนั้นมีเส้นจราจรให้เห็นกันตลอดแนวถนนและทางเท้า จะสังเกตได้ว่ามีทั้งเส้นประ เส้นทึบสีขาว ส่วนเส้นถนนบางแห่งอาจเป็นสีเหลือง แต่ในหลายๆ ครั้ง เราอาจไม่รู้ความหมายของเส้นจราจรเหล่านั้น

เคยสงสัยกันไหมว่าเส้นจราจรมีกี่ประเภท ? ในบทความนี้ Anukul Traffic จะมาบอกความหมายของเส้นจราจรแต่ละรูปแบบให้ผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักกัน

เส้นจราจรมีกี่ประเภท ?

ตามกำหนดของกรมทางหลวง เส้นจราจรแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ได้แก่

1.เส้นแบ่งทิศทางจราจร (Separation Lines)

คือ เส้นจราจรที่อยู่กลางถนน ซึ่งจะแบ่งถนนออกเป็นสองช่องหรือสองเลน (Lane) มีไว้เพื่อแบ่งทิศทางการเดินรถ ให้รถสามารถเดินทางสวนกันได้ หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นเส้นถนนที่ทำให้รถสามารถขับสวนกันได้นั่นเอง
โดยปกติ เส้นแบ่งทิศจราจรจะมีลักษณะเป็นสีเหลือง เพื่อบอกผู้ขับขี่รถยนต์ว่าถนนเส้นดังกล่าวมีรถสวนทาง ซึ่งเส้นแบ่งทิศทางจราจรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบย่อยที่พบเห็นกันได้บ่อยๆ ดังนี้

1.1 เส้นแบ่งทิศจราจรปกติ

มีลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง ใช้สำหรับแบ่งช่องจราจรสวนทางตามปกติ โดยเส้นแบ่งทิศจราจรปกติในเมืองมีขนาดเป็นเส้นความยาว 1 เมตร มีความกว้าง 10 เซนติเมตร และเว้นช่อง 3 เมตร ส่วนบนถนนนอกเมืองจะใช้เส้นความยาว 3 เมตร กว้าง 10 เซนติเมตร และเว้นช่อง 9 เมตร ซึ่งเป็นไปตามกำหนดมาตรฐานของกรมทางหลวง

1.2 เส้นแบ่งทิศจราจรห้ามแซง

มีลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลือง อาจเป็นเส้นเดี่ยวหรือเส้นคู่ โดยเส้นถนนรูปแบบนี้ห้ามไม่ให้รถขับแซงคันด้านหน้า หรือขับคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

นอกจากนี้เส้นเดี่ยวและเส้นคู่นั้นมีความหมายต่างกัน โดย เส้นทึบเดี่ยวสีเหลืองใช้ในบริเวณถนนทางหลวง 2 ช่องจราจร ส่วนเส้นคู่สีเหลืองใช้ในบริเวณถนนทางหลวง 2 ช่องจราจร ห้ามแซงทั้งสองทิศทาง

1.3 เส้นแบ่งทิศจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน

เป็นเส้นจราจรสีเหลือง โดยเป็นเส้นทึบและเส้นประคู่กัน ซึ่งช่องจราจรฝั่งเดียวกับเส้นทึบนั้นห้ามแซง ส่วนช่องจราจรฝั่งเส้นประสามารถแซงได้เมื่อปลอดภัย

2.เส้นแบ่งช่องจราจร (Lane Lines)

คือ เส้นถนนที่สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยเป็นเส้นสีขาว มีทั้งลักษณะเป็นเส้นประหรือเส้นทึบ ใช้สำหรับแบ่งช่องจราจรที่เดินรถไปในทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป ซึ่งเส้นแบ่งช่องจราจรมีรูปแบบย่อย 5 แบบ ได้แก่

2.1 เส้นแบ่งช่องเดินรถ

เส้นประสีขาวที่ใช้แบ่งช่องเดินรถทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป เส้นในเมืองจะมีความยาว 1 เมตร กว้าง 10 เซนติเมตร เว้นช่อง 3 เมตร ส่วนถนนนอกเมืองนั้นมีความยาว 3 เมตร กว้าง 10 เซนติเมตร เว้นช่อง 9 เมตร ซึ่งสามารถเปลี่ยนช่องจราจรได้เมื่อปลอดภัย

2.2 เส้นแสดงความต่อเนื่อง

เส้นประสีขาวที่มีหน้ากว้างกว่าและถี่กว่าเส้นแบ่งช่องเดินรถทั่วไป โดยมีความกว้าง 20-30 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร เว้นช่อง 4 เมตร มักใช้ในบริเวณที่ต้องเร่งหรือลดความเร็ว

2.3 เส้นแนวช่องเดินรถผ่านทางแยก

เส้นจราจรที่พบเห็นได้บ่อยบริเวณทางแยก โดยเป็นเส้นประถี่ๆ สีขาว หน้ากว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และเว้นช่องทุก 2 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำทางรถบนเส้นทางที่มีความซับซ้อน

2.4 เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ

คือ เส้นทึบสีขาวที่ห้ามไม่ให้ผู้ขับรถเปลี่ยนช่องจราจร ต้องขับรถอยู่ภายในช่องเท่านั้น โดยมีความกว้างเท่ากับเส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ หรือก็คือ 10 เซนติเมตร

2.5 เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง

เป็นเส้นถนนที่มีความถี่มาก โดยจะเว้นช่องว่างเพียง 60 เซนติเมตร เส้นมีความกว้าง 20 เซนติเมตร และยาว 60 เซนติเมตร เส้นจราจรลักษณะนี้เป็นการบ่งบอกถึงช่องจราจรสำหรับรถประจำทางเท่านั้น ห้ามไม่ให้รถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถประเภทอื่นเข้าไปในช่องทางนี้เป็นอันขาด

3.เส้นขอบทาง (Edge Lines)

เส้นขอบทาง เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงจุดสุดขอบทางเดินรถ เพื่อป้องกันไม่ให้เดินรถล้ำเข้าไปในไหล่ทาง โดยมีลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาว ยาวไปตลอดขอบถนน

นอกจากเส้นจราจรที่เป็นแนวตรงตามทิศของถนนแล้ว ยังมีเส้นจราจรตามขวาง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทย่อย

เส้นจราจร มีกี่ประเภทบ้าง

เครื่องหมายจราจรบนพื้นตามขวาง 4 ประเภท

1.เส้นหยุด

เส้นทึบหนาสีขาว ที่ตีขวางบริเวณที่ต้องหยุดรถ เช่น บริเวณที่มีป้ายจราจร หรือทางแยกที่มีสัญญาณจราจรบังคับหยุดรถ

2.เส้นให้ทาง

มีลักษณะเป็นเส้นประสีขาวขวางแนวช่องจราจร มีไว้เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ขับรถช้าลงและให้ทางแก่คนเดินเท้า โดยต้องหยุดรถก่อนถึงแนวเส้น

3.เส้นทางข้าม

มีไว้เพื่อให้ผู้เดินเท้าสามารถเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย โดยมีลักษณะเป็นแถบสีขาวหลายๆ แถบประกอบกัน หรืออาจเป็นการตีเส้นจราจรทึบสีขาว 2 เส้นขนานกัน และมีเส้นหยุดหรือเส้นให้ทางประกอบด้วย โดยเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่ขับรถช้าลง และพร้อมหยุดให้คนข้ามถนน

นอกจากนี้ เส้นทางข้ามยังแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบย่อย คือ ทางม้าลาย และแนวคนข้าม

4.เส้นทแยงห้ามหยุดรถ

เครื่องหมายจราจรนี้ มีลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลือง ลากทแยงตัดกันภายในกรอบสีเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บอกผู้ขับขี่รถยนต์ว่าห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบดังกล่าว

ลักษณะเส้นจราจรเบื้องต้นที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันที่ได้แนะนำกันไปในวันนี้ เป็นเพียงสัญลักษณ์เส้นจราจรส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีเส้นจราจรอีกหลายรูปแบบที่เราอาจไม่ได้พบเห็นกันในชีวิตประจำวัน

สุดท้ายนี้ มาตรฐานของการตีเส้นจราจรนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในสถานประกอบการต่างๆ ที่ต้องใช้บริการจากบริษัทรับตีเส้นจราจรที่น่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์

Anukul Traffic บริษัทรับตีเส้นจราจร ประสบการณ์กว่า 10 ปี

อนุกูล ทราฟฟิค คือ ผู้รับเหมาสัญลักษณ์บนถนนที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี เรามีทีมช่างที่ชำนาญในการตีเส้นจราจร การเคลือบผิวสีอีพ็อกซี่ และการลาดยางมะตอย โดยเรามุ่งเน้นถึงคุณภาพของงานตีเส้นให้ได้คุณภาพดี ตรงตามแบบและแผนงานที่ตกลงกับลูกค้า ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ ดำเนินโครงการต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด

Anukul Traffic ให้บริการที่แตกต่าง

  • ซื่อสัตย์ มุ่งมั่น ตั้งใจบริการ ลูกค้าจะได้รับความสบายใจและมั่นใจในคุณภาพงาน
  • มีทีมช่างตีเส้นเป็นของบริษัทเอง ไม่ได้จ้างช่างช่วง จึงง่ายต่อการประสานงาน ทำงานรวดเร็ว มีคุณภาพ
  • ราคาคุ้มค่า และเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
  • ยินดีรับงานทั่วไทย ไม่ว่างานเล็กหรืองานใหญ่

เรามีประสบการณ์ในการให้บริการกับลูกค้าทั้งภาครัฐบาลและเอกชนครอบคลุมงานลูกค้าทั่วไทย นอกจากนี้ เรายังส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม ให้บริการรับเหมาตีเส้นจราจรให้แก่บ้านพักคนชรา พุทธศาสนสถาน ตลอดจนการร่วมโครงการปันน้ำใจต่าง ๆ อีกด้วย

บริการต่างๆ จาก Anukul Traffic

  1. บริการตีเส้นจราจร บริการหลักทั้งการตีเส้นแบ่งช่องจราจร การทำเครื่องหมายต่าง ๆ โดยมีการใช้สีเทอร์โมพลาสติกที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.542-2549
  2. บริการเคลือบผิวสีอีพ็อกซี่ การเคลือบพื้นและผนังด้วยสีอีพ็อกซี่ ทำความสะอาดง่าย ป้องกันสารเคมี ปกปิดรอยแตกเล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่ม
  3. บริการลาดยางมะตอย สำหรับการซ่อมถนน ทำลานจอดรถ ทำคันชะลอรถ ลดฝุ่นละอองจากถนน

หากสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ หรือขอใบเสนอราคา ได้ที่
Line ID: @anukultraffic (มี @ ข้างหน้า)
โทร: 080-222-6662, 091-886-9547, 02-115-4687
Email: anukul.traffic@gmail.com, pornpimon.nyng@gmail.com

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า